[close]
choosewithcareclub.com
go to facebook YouTube
HOME ABOUT US HEALTH CARE SHARE YOUR STORY NEWS CONTACT

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่ รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่ รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่ รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19


          ความไม่เหมือนเดิมหลังต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 เริ่มต้นจากชีวิตของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เราคิดว่า เรื่องโรคระบาดอาจเป็นเรื่องไกลตัว เราเห็นการแพร่ระบาดของโรคซาร์สและพบเจอกับวิกฤตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่เราไม่เคยคิดว่ามันจะมาถึงตัว จนกระทั่งโควิด-19 มาถึง ก่อให้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก วันนี้ทุกคนจึงตระหนักเพิ่มขึ้นว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทำให้ชีวิตไม่เหมือนเดิม...


      

          วิกฤตโควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรม แค่ชั่วคราวหรือถาวร

          ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ บอกว่า วิกฤตโควิด-19 เป็นเรื่องใกล้ตัว สังคมจึงต้องเตรียมพร้อมหลายเรื่อง ขณะที่หลายหน่วยงาน องค์กร ต่างปรับความคิด พฤติกรรม และวิถีการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จากเดิมคนทำงาน มักให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance สร้างสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสำคัญ แต่ปัจจุบัน ที่เราทุกคนต่าง Work from Home มีสัดส่วนเวลาของการทำงานและชีวิตส่วนตัวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน สลับสับเปลี่ยนกันไปตลอดทั้งวัน เกิด Work-Life Integration ที่ชีวิตการทำงานหลอมรวมกับชีวิตส่วนตัวเป็นหนึ่งเดียว จนเราต้องสร้างวินัยในการทำงาน ท่ามกลางอิสระและความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นจาก Work from Home

          จากรูปแบบการทำงานในภาวะวิกฤตที่เปลี่ยนไปนี้ อาจทำให้ความสนใจใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น คนที่ทำงานประจำ พอเห็นความยืดหยุ่นของการทำงานที่บ้าน อาจเปลี่ยนใจมาทำงานฟรีแลนซ์มากขึ้น มีการพัฒนาทักษะของตนเอง มีความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualism) มากขึ้น ทั้งหมดล้วนเป็นผลมาจากการทำงานที่บ้าน เพื่อรักษาระยะห่าง ถือเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างเห็นได้ชัด ส่วนจะอยู่ถาวรหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนมองเห็นประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด

          ขณะที่ ดร.สันติธาร เสถียรไทย แลกเปลี่ยนว่า นอกจาก Work from Home ที่สร้างเศรษฐกิจคนติดบ้าน (From Home Economy) ทำให้ e-Commerce และการทำธุรกรรมทางออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแล้ว อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ก็คือ คนให้ความสนใจและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและสาธารณสุขมากขึ้น เช่น ให้ความสำคัญกับการล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้การรักษามากยิ่งขึ้น อย่างการรักษาทางไกลเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องรับเชื้อเพิ่ม รวมถึงการมี Health Passport ยกระดับเฝ้าระวังการตรวจคัดกรองโควิด-19

          รวิศ หาญอุตสาหะ สะท้อนในมุมผู้ประกอบการว่า ช่วงนี้หลายองค์กรต้องปรับตัว หันหน้าพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลนำมาใช้ในการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้เรื่อง Digital Transformations ที่เคยมีการพูดถึงมาอย่างยาวนานและเกิดขึ้นช้ามาก กลับถูกขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ว่ามาก หรือน้อยเพียงใด หรือเกิดขึ้นในพื้นที่ใด เราจะเห็นว่า มันได้ทำหน้าที่ไม่ต่างกัน คือ การกะเทาะแผลของสังคม “ความไม่เสมอภาค (Inequality)” ที่มีอยู่ ให้ลึก กว้างและรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายองค์กรเอกชนต้องกลับมาทบทวนว่า เราจะสามารถช่วยเรื่องนี้ได้อย่างไร...


      

          ผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับช่วงวิกฤตโควิด-19

          สำหรับมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ดร.สันติธาร บอกว่า ผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

          • ระยะที่ 1 ต้องอยู่ให้รอด เพราะในระยะนี้ เป็นช่วงที่ประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องสาธารณสุขและชีวิตของคนมากที่สุด โดยต้องเร่งหามาตรการในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น ให้คนอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ปิดกิจการสถานประกอบการชั่วคราว ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องอยู่ให้รอดกับภาระต้นทุนที่ต้องเปิดรับ ต้องกลั้นหายใจ

          • ระยะที่ 2 ต้องปรับตัว จากความผิดปกติแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม (New Abnormal) นับเป็นช่วงที่เรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งในระยะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นบ้างแล้ว รัฐผ่อนปรนในธุรกิจบางกลุ่ม ส่งผลให้ผู้ประกอบการในกลุ่มนั้น ๆ เริ่มกลับมาหายใจได้บ้าง แต่ก็ไม่เต็มปอดมากนัก เพราะเป็นการปลดล็อกแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด ส่วนบางธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มสาขาบริการ สถานบันเทิง และท่องเที่ยวที่ยังไม่ปลดล็อกก็ต้องกลั้นหายใจต่อและนานขึ้น

          • ระยะที่ 3 ต้องอยู่ให้ยืน จากความปกติที่ไม่ปกติหลังโควิด-19 (New Normal) เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องตั้งคำถามว่า “โลกหลังโควิดนี้ ยังต้องการเราอยู่หรือไม่” เพราะวิกฤตโควิด-19 เป็นบททดสอบของความจำเป็นครั้งใหญ่ของทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ว่าในการดำเนินกิจการต่าง ๆ มีความจำเป็นหรือไม่ อยู่เพื่ออะไร สร้างคุณค่า (Value) อย่างไรให้กับผู้บริโภค ท่ามกลางวิธีการสื่อสาร การติดต่อที่เปลี่ยนไปนี้

          ด้านผู้ประกอบการเอง รวิศ ยอมรับ ในวิกฤตโควิดนี้ ไม่เพียงทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำหรือไม่ทำอะไรแล้ว ยังสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ ปรับตัวเข้าสู่ตลาด e-Commerce มากขึ้น ติดต่อลูกค้า B2B (Business-to-Business) กันมากขึ้นด้วยออนไลน์ สามารถสั่งของเช็กสต๊อกผ่านระบบดิจิทัล เพียงแค่ระบบหลังบ้านต้องเชื่อมต่อข้อมูลกันเท่านั้นเอง ทำให้ธุรกิจมีความโปร่งใสมากขึ้น ดังนั้น เครื่องมือสำคัญที่จะนำพาเราออกจากวิกฤตนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เทคโนโลยีดิจิทัล และ Mindset ของคนในองค์กร


      

          ETDA กับบทบาทท่ามกลางวิกฤต

          ดร.ชัยชนะ แจงว่า ETDA เป็นหนึ่งในหน่วยงานของรัฐ ที่มีการปรับตัวเช่นเดียวกับเอกชน เพราะใช่ว่าโควิดจะกระทบกับเอกชนและประชาชนเท่านั้น แต่รัฐก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ทำให้รัฐต้องปรับตัวเน้นการเป็นผู้สนับสนุน เพื่อแก้ปัญหาให้อะไรที่ติดขัดในช่วงนี้ สามารถทำต่อไปได้และไม่เป็นภาระของเอกชนหรือประชาชนมากเกินไป เช่น
          • ร่วมผลักดันพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 โดยยกเลิกข้อกำหนดบางประกาศในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อปี 2557 เช่น เรื่องที่ระบุว่าการจัดประชุมออนไลน์ (e-Meeting) อย่างน้อย 1 ใน 3 ขององค์ประชุมจะต้องอยู่ในที่ประชุมเดียวกัน และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจะต้องอยู่ในประเทศขณะที่มีการประชุม ซึ่งด้วยสภาพของวิกฤตโควิด-19 ทำได้ยาก
          • อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ให้กรมสรรพากร ผ่าน Service Provider หรือผู้ให้บริการที่จะเป็นผู้ช่วยในการจัดการและนำส่งเอกสารแทนผู้ประกอบการ โดยไม่ต้องลงทุนหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง ซึ่ง ETDA ก็ได้เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของการวางมาตรฐานและการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานระบบสารสนเทศของ Service Provider ให้มีความน่าเชื่อถือ มั่นคงปลอดภัยด้วย ซึ่งขณะนี้ มี Service Provider ที่พร้อมให้บริการผ่านการรับรองแล้ว 6 รายและอยู่ระหว่างการตรวจประเมินอีก 6 ราย

           นี่เป็นเพียงตัวอย่างของความพยายามในการดำเนินงานของรัฐ เพื่อช่วยให้การดำเนินกิจการของเอกชน และประชาชนสามารถดำเนินการได้และขับเคลื่อนได้จริง ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ซึ่งใช่ว่ารัฐจะเพิ่งมาปรับตัว เพราะก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลักดันกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ที่ได้วางโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังทุกพื้นที่ ก่อนที่โควิด-19 จะเกิดขึ้น กระทรวงฯ ยังได้ประสานความร่วมมือกับ กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ในการลดค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ประเทศไทยมีโครงการสร้างพื้นฐานรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้นำมาใช้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ทำให้สามารถ Work from Home ทำงาน ทำธุรกิจ สอน และเรียนผ่านทางออนไลน์ได้


      

           ธุรกิจรอดหรือร่วง ช่วงวิกฤตโควิด-19 และหลังจากนี้

           ดร.ชัยชนะ กล่าวว่า วิกฤตนี้ได้สร้างข้อจำกัดทางกายภาพโดยเฉพาะเรื่องการเดินทาง ดังนั้น ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก จนอาจไปไม่รอดช่วงนี้ ได้แก่ ธุรกิจที่ต้องอาศัยคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจำนวนมาก ธุรกิจมีสินค้าหรือบริการที่ต้องเข้าถึงลูกค้าทางกายภาพ เช่น ธุรกิจการบิน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

           หนทางที่ทำให้รอดและการถูก Disrupt ลดลง คือ ลดกำลังคน ดึงเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น จัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ที่ดี มี Vender ใน Supply Chain มากกว่า 1 ราย และต้องมีความหลากหลาย ทั้งในพื้นที่ สัญชาติ เพื่อกระจายผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ปรับการส่งสินค้าและบริการถึงลูกค้าในทุกขั้นตอน ต้องทำผ่านออนไลน์ ปรับตัว ใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น


            “จากนี้ ผู้ประกอบการต้องเริ่มคิดต่อแล้วว่า เราจะทำอะไรต่อ ในโลกหลังวิกฤตโควิด-19 เราอยู่ไปทำไม ลูกค้าได้อะไร เราต้องกะเทาะเปลือกเรื่องเหล่านี้ให้ชัด และไม่ใช่แค่การนั่งคิดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องลงมือทำจริง ด้วยความรวดเร็ว เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ ต้องรีบไหวตัวให้ทันเปลี่ยนวิธีลงมือทำใหม่ ซึ่งการทำแบบนี้ไม่เพียงทำให้ผู้ประกอบการรอด แต่ยังสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ รับ New Normal ทำให้เราอยู่รอดได้ยืนยาวด้วย” รวิศ ทิ้งท้าย


      

ที่มา : www.etda.or.th




Home >>
Flemex-AC OD

Recent Post
รวมวิธีรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

รู้จัก 5 รูปแบบการไอ เพื่อบรรเทาอาการอย่างถูกจุด

“สารสกัดจากดอกคาโมมายล์” หนึ่งในส่วนผสมที่ควรมองหาใน เม้าท์ สเปรย์

ไม่ใช่แค่ละลายเสมหะ..NAC กับการใช้รักษาอาการหรือโรคอื่น

เจาะลึกถึงสาเหตุที่นำไปสู่อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

3 ยาที่ต้องมีติดบ้านเพื่อรับมือ “ไข้หวัดแดด”

“เฟลมโมมายล์ เม้าท์ สเปรย์” (Flemomile Mouth Spray) สเปรย์สำหรับช่องปาก สูตรปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์

"กาวชันผึ้ง" (Propolis) สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติช่วยแอนตี้ไวรัส

สุขใจปีใหม่ ดูแลกันให้นาน ๆ

9 วิธีปรับปรุงชีวิตคู่ให้ดีขึ้น

คาโมมายล์ สมุนไพรที่ช่วยให้ผ่อนคลายและบำรุงสุขภาพ

สุขภาพดี ท้าหนาว

RSV ไวรัสตัวร้าย ปล่อยไว้อันตรายถึงแก่ชีวิต

เฟลมโมมายล์ เม้าท์ สเปรย์ เอาใจคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

คัดจมูกอย่าปล่อยไว้นาน

ชิว ๆ เตรียมตัวรับความหนาวที่มาพร้อมกับความสุขใจ

ภูมิแพ้… ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

Review: FLEMOMILE เม้าท์ สเปรย์ ตัวช่วยในวันที่เจ็บคอ (ไม่พูดเยอะ)

หนาวแล้ว ปลายฝน รับต้นหนาว

สุขใจ อิ่มบุญ ในช่วงกินเจ

ชีวิตคิดบวก สู้โควิด

เที่ยวแบบ New Normal เทรนด์ใหม่ยุคโควิด-19

ไอจนเจ็บหน้าอก

“สุขดี” ที่ใจและกาย

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่ รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19

New normal ในโลกหลัง COVID-19 ที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิม

อันตรายจาก “ความชื้น”


ประโยชน์ของสารสกัดจากดอกคาโมมายล์และโพรพอลิส


เทรนด์ธุรกิจแบบ Health Focus ที่มาแรงในวันนี้



« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
Neurotex

Aquamaris




เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา
หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา
HOMEABOUT USSHARE YOUR STORYNEWSCONTACT
 
  
view