[close]
choosewithcareclub.com
go to facebook YouTube
HOME ABOUT US HEALTH CARE SHARE YOUR STORY NEWS CONTACT

เที่ยวเหนือ เดินป่า ตั้งแคมป์ไฟ ระวังไข้มาลาเรีย

เที่ยวเหนือ เดินป่า ตั้งแคมป์ไฟ ระวังไข้มาลาเรีย

เที่ยวเหนือ เดินป่า ตั้งแคมป์ไฟ ระวังไข้มาลาเรีย


          หลังหยุดยาวปีใหม่แบบนี้ คงจะมีความสุขกันถ้วนหน้ากับการท่องเที่ยวใช่มั้ยคะ แต่สำหรับใครที่เพิ่งกลับมาจากการท่องเที่ยวป่าเขา ขึ้นเหนือ ตระเวนชายแดน ไม่ว่าจะไปตั้งแคมป์ หรือท่องเที่ยวตามน้ำตกลำธาร แม้จะอิ่มอกอิ่มใจกลับมากันแล้วก็ขอให้ดูแลสุขภาพกันด้วยค่ะ เพราะในป่าก็ยังมีภัยร้ายซ่อนอยู่ ทั้งไข้มาลาเรีย และอาการอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงอยากชวนทุกคนมาสังเกตอาการคนใกล้ชิดดูนะคะว่าเข้าข่ายดังนี้หรือไม่


          ไข้ป่าไม่ไกลตัว
          แทบทุกปี กรมควบคุมโรคมักจะออกประการเตือนโรคไข้มาลาเรียสำหรับนักเดินป่า ไม่ว่าจะค้างคืนหรือเป็นการท่องเที่ยวชั่วครั้งชั่วคราวก็ตาม เพราะกิจกรรมการเดินป่า ตั้งแคมป์ นอนกางเต็นท์ หรือส่องสัตว์ในป่าดังกล่าว มีโอกาสถูกยุงกัดและเสี่ยงต่อการป่วยไข้มาลาเรีย โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเข้าป่าตามแนวชายแดน เนื่องจากยุงก้นปล่องที่นำเชื้อมาลาเรียจะพบมากบริเวณป่าเขาชายแดนของประเทศ


          ไข้มาลาเรียคืออะไร
          ไข้มาลาเรีย หรือ ไข้ป่า มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ยุงชนิดนี้มีแหล่งเพาะพันธุ์บริเวณเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ เริ่มออกหากินเวลาใกล้ค่ำจนรุ่งสาง โดยหลังจากถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัดประมาณ 10-14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อน เหงื่อออก รู้สึกสบาย แล้วกลับมาเป็นไข้ใหม่อีกครั้ง ให้คิดว่าอาจเป็นไข้มาลาเรีย เพื่อให้การรักษารวดเร็ว เพราะหากช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตในที่สุด


           เราจะป้องกันได้อย่างไร
           เมื่อจะต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดของมาลาเรีย ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังนี้
           1. สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน
           2. ทายากันยุง
           3. นอนในมุ้ง (ถ้าใช้มุ้งชุบน้ำยาจะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน)
           4. ถ้านอนในห้องที่มีมุ้งลวด ควรพ่นยากันยุงก่อน


           ไข้มาลาเรียเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าเราหมั่นสังเกตเพื่อป้องกันอาการร้ายแรงอย่างทันท่วงทีนะคะ ดังนั้นหากคนใกล้ตัวเริ่มมีอาการเป็นไข้หลังจากกลับมาจากป่า ก็ขอให้เฝ้าระวังกันไว้ให้ดีค่ะ เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้เท่าทันโรคนี้ได้แล้ว สำหรับใครที่ติดใจการเดินป่าหน้าหนาว อยากจะวางแผนไปเที่ยวกับครอบครัวอีกครั้งก็ลองนำวิธีการป้องกันไปใช้ในครั้งต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ



            มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “เที่ยวเหนือ เดินป่า ตั้งแคมป์ไฟ ระวังไข้มาลาเรีย” และเมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์นะคะ


          


ข้อมูลจาก มหิดล, Voicetv




Home >>
Flemex-AC OD

Recent Post
รวมวิธีรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

รู้จัก 5 รูปแบบการไอ เพื่อบรรเทาอาการอย่างถูกจุด

“สารสกัดจากดอกคาโมมายล์” หนึ่งในส่วนผสมที่ควรมองหาใน เม้าท์ สเปรย์

ไม่ใช่แค่ละลายเสมหะ..NAC กับการใช้รักษาอาการหรือโรคอื่น

เจาะลึกถึงสาเหตุที่นำไปสู่อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

3 ยาที่ต้องมีติดบ้านเพื่อรับมือ “ไข้หวัดแดด”

“เฟลมโมมายล์ เม้าท์ สเปรย์” (Flemomile Mouth Spray) สเปรย์สำหรับช่องปาก สูตรปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์

"กาวชันผึ้ง" (Propolis) สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติช่วยแอนตี้ไวรัส

สุขใจปีใหม่ ดูแลกันให้นาน ๆ

9 วิธีปรับปรุงชีวิตคู่ให้ดีขึ้น

คาโมมายล์ สมุนไพรที่ช่วยให้ผ่อนคลายและบำรุงสุขภาพ

สุขภาพดี ท้าหนาว

RSV ไวรัสตัวร้าย ปล่อยไว้อันตรายถึงแก่ชีวิต

เฟลมโมมายล์ เม้าท์ สเปรย์ เอาใจคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ

คัดจมูกอย่าปล่อยไว้นาน

ชิว ๆ เตรียมตัวรับความหนาวที่มาพร้อมกับความสุขใจ

ภูมิแพ้… ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

Review: FLEMOMILE เม้าท์ สเปรย์ ตัวช่วยในวันที่เจ็บคอ (ไม่พูดเยอะ)

หนาวแล้ว ปลายฝน รับต้นหนาว

สุขใจ อิ่มบุญ ในช่วงกินเจ

ชีวิตคิดบวก สู้โควิด

เที่ยวแบบ New Normal เทรนด์ใหม่ยุคโควิด-19

ไอจนเจ็บหน้าอก

“สุขดี” ที่ใจและกาย

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่ รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19

New normal ในโลกหลัง COVID-19 ที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิม

อันตรายจาก “ความชื้น”


ประโยชน์ของสารสกัดจากดอกคาโมมายล์และโพรพอลิส


เทรนด์ธุรกิจแบบ Health Focus ที่มาแรงในวันนี้



« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
Neurotex

Aquamaris




เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา
หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา
HOMEABOUT USSHARE YOUR STORYNEWSCONTACT
 
  
view